หลังจากสถานการโควิด 19 ในปัจจุบันที่มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก จนก่อให้เกิดการล็อคดาวน์ขึ้น ทำให้บริษัทต่างๆ ก็ให้พนักงานได้ทำงานกันที่บ้าน แต่ก็หวั่นเกิดปัญหาสุขภาพ โดยทาง สสส.เผย 6 เทคนิคดูแลสุขภาพการWFHในช่วงโควิด เพื่อให้ประชาชนทำงานที่บ้านได้มีสุขภาพที่ดีด้วย ตาม nationalhealcare.com ไปดูกันเลย
สสส.เผย 6 เทคนิคดูแลสุขภาพการWFHในช่วงโควิด
สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ออกมาเปิดเผยวิธีดูแลตัวเองจากการ Work from home ซึ่งทาง หลังจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนทำงานที่บ้าน หรือ Work from home นั้นอาจทำให้สุขภาพเสีย เพราะเหตุนั่งนาน ทำให้ปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว อาจจะรามไปถึงการปวดศีรษะได้ ซึ่งบ่งบอกถึงอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งทาง สสส. ก็ได้ตอบรับด้วยการออกมาแชร์ 6 เทคนิคเพื่อการสร้างสุขภาพในช่วงการทำงานที่บ้าน

(นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย)
ซึ่งจากที่ทาง นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้ออกมาประกาศ จากนโยบายการล็อคดาวน์ การให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work from home นั้น หวังเพื่อลดการระบายโควิด 19 แต่ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้อยู่บ้านที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลา และเนื่องด้วยอุปกรณ์ไม่อำนวยเช่นการทำงานที่บริษัทหรือสถานที่ทำงาน อาจส่งผลให้ผู้ที่ทำงานที่บ้านประสบปัญหาออฟฟิศซินโดรมได้ (Office Syndrome) ซึ่งจะมีอาหารข้างต้นดังนี้ ปวดหลังเรื้อรัง เหตุเกิดจาการที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน วันละ 6-8 ชม. โดยการนั่งที่หลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง ต้นคอ สะบัก รู้สึกเมื่อยล้า และเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนำมาซึ่งอาการปวดเรื้อรัง นอกจากนั้นยังส่งผลให้กระบังลมผายได้ไม่เต็มที่จนทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้น้อย ทำให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ นอกจากนั้นก็จะตามมาด้วยอาการปวดคอจากการเงยมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ ปวดหัวเรื้อรังจากความเครียดที่สั่งสม นี่คืออาหารเบื้องต้นของออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง
นอกเหนือจากอาหารข้างต้นดังกล่าวแล้วยังส่งผลให้กล้ามเนื้อในร่างกายมีอาการชา เช่น มือเท้าชา นิ้วล็อค ปวดเมื่อยตามมือ เหตุเพราะการพิมพ์งานหรือใช้คอมพิวเตอร์ในเวลานาน ทำให้เอ็นเกร็งและล็อค จนทำให้มีอาหารดังกล่าว ทำให้ปลายประสาทอักเสบ หรืออาจทำให้เรื้อรังได้

(ออฟฟิศซินโดรม)
โดยทางอธิบดีกรมอนามัย ได้กล่าวว่ามี 6 วิธีการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมดังนี้
1.ปรับระดับเก้าอี้ให้เหมาะสมกับระดับการทำงาน ระดับสายตามองตรงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่ต้องเงย หรือหลังค่อย จะช่วยลดปัญหาการปวดหลังเรื้อรังได้ ถ้าหากไม่มีเก้าอี้ที่สามารถปรับได้ก็หาเบาะรองนั่งเสริมความสูงของพื้นรองนั่งขึ้น
2.การพิมพ์งานหรือใช้คอมพิวเตอร์ ระดับของศอกควรอยู่ในระดับเดียวกับคีย์บอร์ดหรือสูงกว่าเล็กน้อย มีพื้นที่อิสระมากขึ้นในการใช้เมาส์ ในส่วนนี้จะช่วยลดปัญหาอักเสบของปลายประสาท ต้นเหตุของอาการมือชา
3.ในการนั่งทำงานนั้นควรนั่งหลังตรง ก้นชิดขอบเก้าอี้ด้านนอก เปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 20 นาที กระพริบตาให้บ่อยครั้งมากขึ้น ยืดมือและแขนในทุกๆ 1 ชม.ของการทำงาน
4.ปลูกต้นไม้ในร่มช่วยในการดูดซับสารพิษในอากาศได้ดี นอกจากนั้นยังช่วยให้เป็นจุดพักสายตาได้ดี
5.กินอาหารให้ตรงเวลาและครบห้าหมู่
6.ควรเปิดช่องหารระบายอากาศ ให้อากาศถ่ายเทได้ดี อย่างน้อยตอนเช้าหรือตอนกลางวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับอากาศดี ทำให้ไม่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง
ทั้งหมดนี้ซึ่งเป็นคำกล่าวจากอธิบดีกรมอนามัย เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และสุขภาพที่ไม่เสื่อมถอย

(ทำงานอย่างแฮปปี้)
สำหรับเนื้อหาของทาง สสส.เผย 6เทคนิคดูแลสุขภาพการWFHในช่วงโควิด ที่เราได้เอามานำเสนอนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้ที่ทำงานอยู่ที่บ้าน หรือ Work from home อยู่ ห่างไกลจากการเป็นออฟฟิศซินโดรมเอง เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ทำงานได้อย่างเต็มที่
ตามมาดูเราได้รวมของตกแต่งในบ้านสุดเก๋ไว้ให้คุณแล้ว
เราได้ รวมของตกแต่งในบ้านสุดเก๋ มาให้ทุกคนได้มีไอเดียในการตกแต่งบ้านกันเลยนะคะของตกแต่งในบ้านถือว่าเรื่องที่สำคัญมากเลยค่ะ ถ้าหากเลือกใช้ของตกแต่งบ้านที่เหมาะสม และมีความเข้าถึงกัน ก็จะทำให้บ้านของเรานั้นน่าอยู่ไปด้วย ในช่วงยุคสมัยนี้การใช้ของตกแต่งบ้านกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม รวมไปถึงห้องเช่าอพาร์ทเม้นท์เล็กๆ เพียงใช้ของตกแต่งที่สวยงาม และเหมาะสมกับสถานที่ ก็สามารถเปลี่ยนให้บ้าน หรือห้องที่เราอยู่นั้นให้ดูมีความละมุน และน่าอยู่มากขึ้นแล้วค่ะ
